การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือ

(VOVworld) – ในการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อขานรับวันหนังสือเวียดนามครั้งแรก ได้มีการจัดงานแสดงหนังสือ นิทรรศการและการพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือและวรรณกรรม ซึ่งถือเป็นโอกาสให้ผู้รักหนังสือและผู้ที่อยู่ในวงการนี้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันและยืนยันคุณค่าของหนังสือ
(VOVworld) – ในการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อขานรับวันหนังสือเวียดนามครั้งแรก ได้มีการจัดงานแสดงหนังสือ นิทรรศการและการพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือและวรรณกรรม ซึ่งถือเป็นโอกาสให้ผู้รักหนังสือและผู้ที่อยู่ในวงการนี้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันและยืนยันคุณค่าของหนังสือ
การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือ - ảnh 1
คุณฝ่ามซวนเงวียน นักวิจารณ์วรรณกรรมและผู้บรรยายด้านหนังสือ 

ที่ร้านกาแฟหนังสือที่เงียบสงบในซอยเล็ก ๆ ของถนนเฉิ่นดังนิงห์ แม้จะเป็นเวลา 1 ทุ่มแต่ก็ยังคงมีลูกค้านั่งดื่มกาแฟและพูดคุยกันเกี่ยวกับหนังสือ ที่มุมหนังสือของร้านนี้มีเด็ก ๆ  5-6 คนกำลังอ่านหนังสือ โดยบรรยากาศในส่วนนี้มีความสงบและเป็นส่วนตัวและสามารถรองรับลูกค้าได้ประมาณ 40 คน ซึ่งเป็นจุดนัดพบสำหรับผู้ที่รักการอ่านที่มักพูดคุยกันเกี่ยวกับวัฒนธรรมการอ่านและสิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ

วันนี้ เนื้อหาของการพูดคุยคือ “ นักวิจารณ์อ่านหนังสืออย่างไร” โดยคุณฝ่ามซวนเงวียน นักวิจารณ์วรรณกรรมและผู้บรรยายด้านหนังสือ โดยคุณเงวียนเริ่มต้นการพูดคุยโดยเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเองว่า เขาเริ่มต้นชีวิตการเรียนที่โรงเรียนอัจฉริยะคณิตศาสตร์แต่จบวิชาวรรณกรรมที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย ต่อจากนั้นได้เข้าเป็นทหารแล้วหลังจากปลดประจำการก็ทำงานที่สถาบันวรรณกรรมจนถึงปัจจุบัน “ผมอ่านหนังสือตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียนของโรงเรียนมัธยมฟานดิ่งฝุ่งของจังหวัดห่าติ๋ง คุณพ่อผมเป็นอาจารย์สมัยนั้นได้เงินเดือน 60 ด่งแต่ท่านให้ผม 10 ด่งเพื่อเอาไว้ซื้อหนังสือ ในช่วงนั้นผมได้อ่านหนังสือปรัชญา บางทีผมและคุณพ่อก็ซื้อหนังสือซ้ำกันจนต้องเอาไปคืนร้าน ในตลอด 10 ปีมานี้ผมได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับหนังสือ ซึ่งผมได้อ่านหนังสือเป็นจำนวนเพราะถ้าไม่อ่านก็ไม่รู้จะพูดอะไร ถ้าหากใครถามเกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือ ถ้าผมไม่อ่านผมจะตอบไม่ได้”

เรื่องราวต่างๆของคุณเงวียนได้รับการชื่นชมจากผู้อ่านที่เข้าร่วมการพูดคุยครั้งนี้ ซึ่งรวมถึงแขกพิเศษคือ คุณ ปีเตอร์ ซีโรแมน ศ.ดร.มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ศีรษะล้านและใส่แว่นตา ไว้หนวดไว้เคราและพูดภาษาเวียดนามสำเนียงเหน่อ ๆ คุณปีเตอร์เป็นนักวิชาการด้านภาษาเวียดนามและได้ร่วมกับภรรยาชาวเวียดนามได้แปลหนังสือเรื่อง “โซ้ด๋อ”ของนักเขียนหวุจ๋องฝุงเป็นภาษาอังกฤษและตั้งชื่อเรื่องว่า “ Dumb Luck” ซึ่งได้รับการพิมพ์จำหน่ายในสหรัฐเมื่อปี 2003 และสร้างชื่อเสียงให้แก่พวกเขา “ผมอ่านหนังสือเวียดนามหลายเล่ม ทั้งประวัติศาสตร์และวรรณกรรมเพื่อทำการวิจัย กว่าที่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับนักเขียนหวูจ๋องฝุง ผมต้องใช้เวลา 10 ปี เพราะต้องอ่านหนังสือเกี่ยวกับนักเขียนคนนี้หลายเล่ม เวลาของผมส่วนใหญ่หมดไปกับการอ่านหนังสือ ตื่นนอนก็อ่าน ดื่มกาแฟก็อ่าน ก่อนนอนก็อ่าน เป็นต้น”

การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือ - ảnh 2
ผู้สูงอายุหลายคนเข้าร่วมการพูดคุยครั้งนี้

คุณดิงวันเนียม อายุ 79 ปี อาศัยที่เขตท้ายห่า ได้เข้าร่วมการพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือในวันนี้กับเพื่อนผู้สูงอายุอีกคนหนึ่งจากการประชาสัมพันธ์งานนี้ผ่านเฟสบุ๊ก และก็ไม่นึกเลยว่าหนังสือวิจัยของผู้สูงอายุคนนี้จะได้รับการพิมพ์จำน่ายอีกรอบหนึ่งในเร็วๆนี้ คุณเนียมเผยว่า “ผมอ่านหนังสือเป็นประจำตั้งแต่ปี 1965 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพยายามอ่านให้ได้ 40 หน้าต่อวัน ผมถือหนังสือเป็นอาจารย์ที่ยิ่งใหญ่พราะในมหาวิทยาลัยก็ได้เรียนแค่ 4-5 ปีเท่านั้น หรือทำงานอื่นความรู้ที่ได้เรียนจากมหาวิทยาลัยก็อาจลืมเลือนไป แต่ความรู้ที่มาจากหนังสือไม่หายไปไหน ถ้าหากไม่อ่านก็จะไม่รู้เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งวัฒนธรรมและสังคม
อีกปัญหาที่พูดคุยกันในวันนี้คือ “หนังสือจะถูกหลงลืมในยุคอินเตอร์เน็ตหรือไม่” นายปีเตอร์ ซีโรแมนแสดงความคิดเห็นว่า “อินเตอร์เน็ตจะส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมการอ่านอย่างแน่นอน อย่างเช่นผมเอง ผมก็อ่านหนังสือพิมพ์บนอินเตอร์เน็ตแต่นวนิยายหรือประวัติศาสตร์ผมยังอ่านในหนังสือกระดาษ แต่ในอนาคต การอ่านหนังสือกระดาษจะลงอย่างแน่นอนเพราะอินเตอร์เน็ตสามารถทดแทนหนังสือเนื่องจากใช้งานง่ายและทันสมัย
แต่คุณฉิงวันทั้ง หนึ่งในผู้ที่เข้าร่วมการสนทนาในร้านได้แสดงความคิดเห็นว่า “สังคมจะพัฒนา หลายคนจะอ่านหนังสือผ่านอุปกรณ์ที่ทันสมัยเช่น คอมพิวเตอร์และมือถือแต่ผมคิดว่าจะไม่ใช่ทั้งหมด อุปกรณ์เหล่านี้ไม่สามารถทดแทนหนังสือกระดาษได้ ผมมักจะอ่านหนังสือหายากบนอินเตอร์เน็ต ส่วนที่เหลือผมชอบอ่านในหนังสือกระดาษมากกว่า
การพูดคุยเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมงครึ่งได้เสร็จสิ้นลง ทุกคนกลับบ้านด้วยอารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกันแต่ที่เหมือนกันคือความประทับใจต่อโครงการจัดทำตู้หนังสือให้แก่ประชาชนในเขตชนบท ซึ่งพยายามช่วยให้ชาวนาประมาณ 2 แสนคนได้อ่านหนังสือและเพิ่มการอ่านหนังสือให้แก่นักเรียนในโรงเรียนต่างๆที่อ่านเพียง 1 เล่มต่อปีขึ้นเป็น 40 เล่มต่อปี เพื่อให้คุณภาพนักเรียนในชนบทพัฒนาดีขึ้นใกล้เคียงกับนักเรียนในกรุงฮานอย./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด