(VOVWORLD) - องค์การความคิดริเริ่มเพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน หรือ HRMI ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศนิวซีแลนด์ได้ประกาศรายงานประจำปี 2024 เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในทั่วโลก โดยอ้างอิงการประเมินจาก 3 ข้อคือ คุณภาพชีวิต ความปลอดภัยและการมอบสิทธิ์ของรัฐ ซึ่งองค์กรนี้ได้ประเมินสถานการณ์สิทธิ์มนุษยชนในเวียดนามว่า ไม่มีความก้าวหน้าและนับวันถอยหลัง ซึ่งนี่ถือเป็นคารมที่ไร้มูลความจริงและไม่อ้างอิงตามสถานการณ์ที่เป็นจริงในการปฏิบัติเพื่อค้ำระกันสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม
นาย Veeramalla Anjjaiah ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยปัญหาเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสำนักงานใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย |
นับตั้งแต่มีการสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันคือประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สิทธิมนุษยชนก็ถูกระบุอย่างชัดเจนและเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิของประชาชาติ
สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนามแตกต่างจากการประเมินของ HRMI
จุดยืนในการถือมนุษย์เป็นทั้งเป้าหมายและพลังขับเคลื่อนที่สำคัญของภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัยได้ถูกระบุอย่างต่อเนื่องและเสมอต้นเสมอปลายในหลักนโยบาย และแนวทางของพรรคและกฎหมายของรัฐเวียดนาม โดยรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับปี 1946, 1959, 1980 และ1992 ได้ระบุถึงเนื้อหานี้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 2013 มี36 มาตราจากทั้งหมด 120 มาตรา ซึ่งการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี 2013 ที่มี 1 บรรพที่ระบุเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง นอกจากนี้ เวียดนามได้ประกาศใช้เอกสารกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามสร้างกรอบทางกฎหมายที่สำคัญให้แก่การค้ำประกันการปฏิบัติสิทธิมนุษยชนและสิทธิของพลเมือง รองศ.ดร. เตื่องยวีเกียน หัวหน้าสถาบันสิทธิมนุษยชนสังกัดสถาบันการเมืองรัฐศาสตร์แห่งชาติโฮจิมินห์ได้เผยว่า
“รัฐธรรมนูญปี 1992 มีแต่มาตรา 50 ที่ระบุถึงสิทธิมนุษยชน ถึงรัฐธรรมนูญปี 2013 มี 1 บรรพเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน สิ่งที่น่าสนใจคือนอกจากถูกระบุใน 1 บรรพแล้ว สิทธิมนุษยชนยังถูกระบุในหลายบรรพของรัฐธรรมนูญ โดเฉพาะมาตราที่ 3 เกี่ยวกับบทบาท ความรับผิดชอบของรัฐในการรับรอง ให้ความเคารพ ค้ำประกันและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งพรรคและรัฐพยายามปรับปรุงระบบกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชน”
ที่เวียดนาม พลเมืองทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพด้านสื่อสารมวลชน เสรีภาพด้านความเชื่อ ศาสนา การชุมนุม การจัดตั้งสมาคม สิทธิในการฟ้องร้องและเปิดโปงและสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยอื่นๆ โดยการปฏิบัติสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยดังกล่าวต้องไม่ละเมิดสิทธิและผลประโยชน์ของรัฐ หรือ บุคคลและคณะอื่นๆ เพราะเป็นการละเมิดกฎหมาย ซึ่งจะถูกลงโทษตามกฎหมาย รองศ.ดร. เหงวียนแก๋งถิ่น รองหัวหน้าสถาบันความมั่นคงรูปแบบใหม่สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้ให้ข้อสังเกตว่า
“เราเรียกร้อง ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงกล่าวถึงปัญหาและข้อบกพร่องต่างๆ แต่สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นการตำหนิหรือวิจารณ์ที่บิดเบือนความจริงและจงใจใส่ร้ายป้ายสีเพื่อมุ่งยุยงปลุกปั่น สร้างความแตกแยก”
สำหรับเรื่องโทษประหารชีวิตที่ถูกระบุในรายงานของ HRMI ต้องยืนยันว่า เวียดนามไม่ใช่ประเทศเดียวในโลกที่ยังคงมีการลงโทษประหารชีวิต โดยกฎหมายสากลไม่ห้ามเรื่องนี้ ส่วนอนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิพลเรือนและการเมืองระบุว่า ในประเทศที่ยังไม่ยกเลิกโทษประหารชีวิต ก็มีการลงโทษประหารชีวิตต่อผู้กระทำผิดคดีร้ายแรง นาย ดิงเตี๊ยนหยุง รองอธิบดีกรมการสื่อสารต่างประเทศสังกัดกระทรวงการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้เผยว่า
“เวียดนามก็เหมือนประเทศต่างๆที่กำลังปรับปรุงกระบวนการตุลาการให้สมบูรณ์ โดยพิจารณาการปฏิบัติพิธีสารเกี่ยวกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งเวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกในการปฏิบัตอพิธีสารดังกล่าว เช่น ลดจำนวนฐานความผิดที่มีโทษประหารชีวิตในประมวลกฎหมายอาญาจากฐานความผิด 44 ข้อของประมวลกฎหมายอาญาปี 1985 ลงเหลือ 18 ข้อในประมวลกฎหมายอาญาปี2015”
การรับรองจากนานาชาติ
ทั้งนี้ ความพยายามค้ำประกันและปฏิบัติสิทธิมนุษยชนในเวียดนามได้รับการรับรองจากประชาคมโลก โดยนาย Andrew Goledzinowski เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำเวียดนามได้ให้ข้อสังเกตว่า การศึกษาและฝึกอบรมในเวียดนามได้รับการยกระดับ การรู้หนังสือและการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆสามารถเข้าถึงน้ำประปาและการศึกษามากขึ้น สตรีได้รับการมอบอำนาจ มีบทบาท มีส่วนร่วมและมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในระบบการเมืองมากขึ้น ซึ่งเวียดนามได้พยายามค้ำประกันสิทธิมนุษยชนให้แก่ประชาชนทุกคน ส่วนนาย Veeramalla Anjjaiah ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยปัญหาเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือที่มีสำนักงานใหญ่ในประเทศอินโดนีเซียได้ประเมินว่า
“สามารถยืนยันได้ว่า เวียดนามได้ประสบผลงานที่น่ายินดีในการปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เช่น บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกเป้าหมาย โดยได้คะแนนเฉลี่ยที่ 72.76คะแนน ปฏิบัติโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมค้ำประกันสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน”
ทั้งนี้และทั้งนั้นแสดงให้เห็นว่า ผลสำเร็จของเวียดนามในการค้ำประกันสิทธิมนุษยชนและการประเมินของประชาคมโลกเป็นการพิสูจน์อย่างชัดเจนว่า รายงานประจำปีของ HRMI เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนามเป็นรายงานที่ขาดภาวะวิสัย.